ความน่าเชื่อถือของข้อมูล สามารถพิจารณาได้จาก 2 ส่วนด้วยกัน คือ ความเที่ยง (precision) และความแม่น (accuracy) ของข้อมูล โดยความเที่ยง คือ ความใกล้เคียงกันของค่าที่ได้จากการวัดซ้ำส่วนตวามแม่น คือ ความใกล้เคียงของค่าเฉลี่ยจากการวัดซ้ำเทียบกับค่าจริง
อุปกรณ์วัดปริมาตร
อุปกรณ์วัดปริมาตรสารเคมีที่เป็นของเหลวที่ใช้ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาสาสตร์มีหลายชนิดแต่ละชนิดมีขีดและตัวเลขแสดงปริมาตรที่ได้รับการตรวจสอบมาตรฐานและกำหนดความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้
1.บีกเกอร์
บีกเกอร์(beaker) มีลักษณะเป็นทรงกระบอกปากกว้าง มีขีดบอกปริมาตรในระดับมิลลิลิตร มีหลายชนิด ดังรูป
1.บีกเกอร์
บีกเกอร์(beaker) มีลักษณะเป็นทรงกระบอกปากกว้าง มีขีดบอกปริมาตรในระดับมิลลิลิตร มีหลายชนิด ดังรูป
2.ขวดรูปกรวย
ขวดรูปกรวย (erlenmeyer flask) มีลักษณะคล้ายผลชมพู่ มีขีดบอกปริมาตรในระดับมิลลิลตรมีหลายขนาด ดังรูป
3.กระบอกตวง
กระบอกตวง (measuring cylinder) มีลักษณะเป็นทรงกระบอก มีขีดบอกปริมาตรในระดับมิลลิลิตร มีหลายขนาด ดังรูป
การใช้อุปกรณ์วัดปริมาตรเหล่านี้ให้ได้ค่าที่น่าเชื่อถือจะต้องมีการอ่านปริมาตรของของเหลว ให้ถูกวิธี โดยต้องให้สายตาอยู่ระดับเดียวกันกับระดับส่วนโค้งของของเหลว โดยถ้าส่วนโค้งของ ของเหลวมีลักษณะเว้า ให้อ่านปริมาตรที่จุดต่ําสุดของส่วนโค้งนั้น แต่ถ้าส่วนโค้งของของเหลวมี ลักษณะนูน ให้อ่านปริมาตรที่จุดสูงสุดของส่วนโค้งนั้น
กระบอกตวง (measuring cylinder) มีลักษณะเป็นทรงกระบอก มีขีดบอกปริมาตรในระดับมิลลิลิตร มีหลายขนาด ดังรูป
4.ปิเปตต์
ปิเปตต์ (pipette) เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรที่มีความแม่นสูง ซึ่งใช้สำหรับถ่ายเทของเหลวปิเปตต์ที่ใช้ทั่วไปมี 2 แบบ คือ แบบปริมาตรซึ่งมีกระเปาะตรงกลาง มีขีดบอกปริมาตรเพียงค่าเดียว และแบบใช้ตวง มีขีดบอกปริมาตรหลายค่า ดังรูป
5. บิวเรตต์
บิวเรตต์ (burette) เป็นอุปกรณ์สําหรับถ่ายเทของเหลวในปริมาตรต่าง ๆ ตามต้องการ มีลักษณะ
เป็นทรงกระบอกยาวที่มีขีดบอกปริมาตร และมีอุปกรณ์ควบคุมการไหลของของเหลวที่เรียกว่า ก็อกปิดเปิด (stop cock)
6.ขวดกำหนดปริมาตร
ขวดกําหนดปริมาตร (volumetric flask) เป็นอุปกรณ์สําหรับวัดปริมาตรของของเหลวที่บรรจุ
ภายใน ใช้สําหรับเตรียมสารละลายที่ต้องการความเข้มข้นแน่นอน มีขีดบอกปริมาตรเพียงขีดเดียว
มีจุกปิดสนิท ขวดกําหนดปริมาตรมีหลายขนาด ดังรูป
การใช้อุปกรณ์วัดปริมาตรเหล่านี้ให้ได้ค่าที่น่าเชื่อถือจะต้องมีการอ่านปริมาตรของของเหลว ให้ถูกวิธี โดยต้องให้สายตาอยู่ระดับเดียวกันกับระดับส่วนโค้งของของเหลว โดยถ้าส่วนโค้งของ ของเหลวมีลักษณะเว้า ให้อ่านปริมาตรที่จุดต่ําสุดของส่วนโค้งนั้น แต่ถ้าส่วนโค้งของของเหลวมี ลักษณะนูน ให้อ่านปริมาตรที่จุดสูงสุดของส่วนโค้งนั้น
อุปกรณ์วัดมวล
เครื่องชั่ง เป้นอุปกรณ์สําหรับวัดมวลของสารทั้งที่เป็นของแข็งและของเหลว ความน่าเชื่อถือ
ของค่ามวลที่วัดได้ขึ้นอยู่กับความละเอียดของเครื่องชั่งและวิธีการใช้เครื่องชั่ง เครื่องชั่งที่ใช้ในห้อง
ปฏิบัติการเคมีโดยทั่วไปมี 2 แบบ คือ เครื่องชั่งแบบสามคาน (triple beam) และเครื่องชั่งไฟฟ้า
(electronic balance)
เลขนัยสำคัญ
- เลข 1 ถึง 9 ให้นับเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น
- 45 มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
- 548 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
- 656.54 มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
- เลข 0 อยู่ระหว่างตัวเลข(1-9) ให้นับเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น
- 3005 มีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว
- 50.005 มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
- 8.0002 มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
- เลข 0 อยู่หลังตัวเลข(1-9) และมีจุดทศนิยมให้นับเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น
- 4.0 มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
- 180.03 มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
- 801 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
- เลข 0 อยู่ด้านซ้ายมือของตัวเลขไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญ
- 007 มีเลขนัยสำคัญ 1 ตัว
- 0.035 มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
- 0.004004500 มีเลขนัยสำคัญ 7 ตัว
- ไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญ !!!
ตัวอย่างการนับเลขนัยสำคัญ
Ex. 0.00000008 มีเลขนัยสำคัญกี่ตัว
- ตอบ 1 ตัว
- ตอบ 6 ตัว
- ตอบ 3 ตัว
การบวก( + )ลบ( - ) เลขนัยสำคัญ
==> ในการบวกลบเลขนัยสำคัญ เมื่อบวกลบเสร็จแล้ว จะคงเหลือจำนวนเลขทศนิยมไว้ให้เท่ากับจำนวนเลขทศนิยมตัวน้อยที่สุด (ให้ดูทั้งหมดทุกตัวนะ) เช่น
- 3.035 + 5.2 + 8.09 = 16.325 ==> ตอบ 16.3 (ตอบตามจุดทศนิยมน้อยที่สุด)
- 405 + 7.12 + 98.003 = 510.123 ==> ตอบ 510 (ตอบตามจุดทศนิยมน้อยที่สุด)
การบวกเลขนัยสำคัญ
การคูณ หาร เลขนัยสำคัญ
==> ในการคูณหารเลขนัยสำคัญ เมื่อคูณหารเสร็จแล้ว จะคงเหลือจำนวนเลขทศนิยมไว้ให้เท่ากับจำนวนเลขนัยสำคัญตัวน้อยที่สุด (ให้ดูทั้งหมดทุกตัวนะ) เช่น
- 62.5 คูณด้วย 0.073 = 4.562 ==> ตอบ 4.6 (ตอบตามเลขนัยสำคัญน้อยที่สุด โดยดูทุกตัว)
- 0.024 หารด้วย 0.006 = 4 ==> ตอบ 4 (ตอบตามเลขนัยสำคัญน้อยที่สุด โดยดูทุกตัว)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น