ข้อสังเกตที่ได้จากการใช้จัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
1. เลขอะตอมคู่จะอยู่ในหมู่คู่ เลขอะตอมคี่จะเป็นธาตุในหมู่คี่ เช่น
ธาตุ 14Si จะเป็นธาตุในหมู่ 4
ธาตุ 11Na จะเป็นธาตุในหมู่ 1
2. ธาตุหมู่ IA และ IIA ตั้งแต่คาบ 3 ขึ้นไป จะมีจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานถัดจากวงนอกสุดเข้ามา 1 ชั้นเป็น 8 เสมอ เช่น
11Na จะจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2, 8, 1 12Mg จะจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2, 8, 2
19K จะจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2, 8, 8, 1 20Ca จะจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2, 8, 8, 2
3. ธาตุหมู่ IIIA ถึง VIIIA ตั้งแต่หมู่ที่ IIIA คาบ 4 เป็นต้นไป จะมีจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานถัดจากวงนอกสุดเข้ามา 1 ชั้นเป็น 18 เสมอ เช่น
31Ga 2, 8, 18, 3 (หมู่ 3 คาบ 4)
33As 2, 8, 18, 5 (หมู่ 5 คาบ 4)
4. ถ้าธาตุนั้นมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนไม่เป็นไปตามข้อ 2 และ 3 คือมีจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานถัดจากวงนอกสุดเข้ามา 1 ชั้น มีค่าตั้งแต่ 9 – 18 แต่วงนอกสุดมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็น 1หรือ 2 นักเรียนก็ทำนายได้ทันทีว่าเป็นธาตุแทรนซิชัน เช่น
29Cu 2, 8, 18, 1 ไม่ใช่เป็นธาตุหมู่ 1 แต่เป็นธาตุแทรนซิชันจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2, 8,18, 1
23V 2, 8, 8, 5 ไม่ใช่เป็นธาตุหมู่ 1 แต่เป็นธาตุแทรนซิชันจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2, 8,11, 2
หมายเหตุ ธาตุแทรนซิชันที่มีเลขอะตอมตั้งแต่ 21 – 30 จะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็น 2 ยกเว้น Cu กับCr จะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็น 1
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น